เบาหวาน

เบาหวานในเด็ก และเบาหวานกับการออกกำลังกาย

เบาหวานในเด็กเหมือนกับเบาหวานในผู้ใหญ่ หรือไม่?

เบาหวาน กับการสร้างภูมิสมดุล
เบาหวานในเด็กก็เหมือนกับเบาหวานในผู้ใหญ่ โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต เสี่ยงต่อ การเกิดภาวะ แทรกซ้อนได้เหมือนกัน อาทิเช่น
* เบาหวานขึ้นจอตา ทำให้ตามองเห็นไม่ชัดเจน
* โรคไต การเป็นโรคเบาหวานนานๆและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ส่งผลให้ไตเสื่อม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่เบาหวานชนิดที่ 2
(เบาหวานชนิดที่เกิดจาก สาเหตุที่ร่างกาย เกิดการดื้อต่ออินซูลินเนื่องจากตัวรับอินซูลินในร่างกายเกิดความบกพร่อง ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง) ซึ้งทำให้เกิดโรคไตวายได้
* ปลายประสาทเสื่อม การเป็นโรคเบาหวาน จะทำให้ปลายประสาทเสื่อม มีอาการชา การรับความรู้สึกที่มือ เท้า ลดลง
* ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หลอดเลือดแดงจะตีบและแข็งกว่าปกติ โอกาสจะเป็นหลอดเลือดสมองขาดเลือด หรืออัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวายเฉียบพลัน ได้สูงมาก

เบาหวาน
เบาหวานในเด็ก

จุดเริ่มต้น จากโรคเบาหวานจะนำไปสู่ โรคเรื้อรัง อื่นๆ

จุดเริ่มต้นโรคเบาหวานเรื้อรัง ส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว แต่สามารถชะลอ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ หากรู้จัก ดูแลสุขภาพ ระมัดระวังการรับประทานอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือผู้ป่วยเบาหวาน จะต้องดูแลเรื่องของผลน้ำตาลด้วยตนเอง อย่างสม่ำเสมอดูแลตนเองให้ระดับน้ำตาลอยู่ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด เพื่อชะลอ และป้องกัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เหล่านั้น

โรคเบาหวานเป็นได้ตั้งแต่เด็กอายุน้อยๆ

โรคเบาหวานเป็นได้ตั้งแต่เด็ก อายุน้อยๆ อาทิเช่น ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี ในผู้ป่วยเบาหวาน ตั้งแต่เป็นเด็กอายุน้อยๆ อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ไตเสื่อม เบาหวานขึ้นจอตา ได้ตั้งแต่เริ่มโตเป็นวัยรุ่นดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่เด็ก จะต้องอยู่กับโรคเรื้อรังนี้ และภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ไปอีกนาน ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่แข็งแรง อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมากตั้งแต่เด็กๆ เรื่อยมา เพราะฉะนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือ ป้องกันอย่าให้เด็กเป็นเบาหวาน นั่นคืออย่าให้ลูกอ้วน และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ผู้ป่วยโรคเบาหวานเด็ก ที่เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ภาวะอ้วนจะต้องลดน้ำหนักอย่าให้อ้วนมากไปกว่านี้ หรือกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงเริ่มมีน้ำตาลสูงผิดปกติแล้ว จะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวานได้ หากได้ออกกำลังกายควบคุมอาหารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

เบาหวาน
เบานหวานในเด็กกับเครื่องตรวจเลือด

การออกกำลังกาย ช่วยบำบัดรักษาโรคเบาหวาน

การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการบำบัดรักษาโรคเบาหวานได้จริง จะเห็นได้ว่าการบำบัดรักษาโรคเบาหวาน ได้แก่การควบคุมอาหาร การรักษาด้วยยา และการออกกำลังกายนั่นเอง

ผู้ป่วยเบาหวาน หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลินที่มีอยู่ในร่างกายได้ ซึ่งได้รับการ วิจัยจนเป็นที่ยอมรับว่า การออกกำลังกายทำให้สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าไปใช้งานในเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติ ก็มักจะมีระดับไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ได้ด้วยเช่นกัน

ผู้ป่วยเบาหวาน ควรระมัดระวัง การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะออกกำลังกาย ซึ่งได้แก่
– การบาดเจ็บของข้อต่อ กระดูก หรือกล้ามเนื้อ
– ในผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจผิดปกติอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจได้
– ผู้ป่วยเบาหวาน ถ้ามีหลอดเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณเท้าผิดปกติ ควรระวังการบาดเจ็บของเท้าด้วย
– การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานอาจมีเลือดออกในลูกตาเพิ่มขึ้นได้
– หากผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต การออกกำลังกาย อาจทำให้มีการเสียเหงื่อเสียน้ำเพิ่มมากขึ้นได้
– การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานบางราย ระดับน้ำตาลในเลือด อาจสูงขึ้นหรือต่ำลงมากเกินไปได้

เบาหวาน
เบาหวานกับการออกกำลังกาย

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย ดังนี้

– จัดโปรแกรมการออกกำลังกาย และให้คำแนะนำการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากแพทย์
– เกี่ยวกับการรักษาทางยา และการฉีดอินซูลิน ของผู้ป่วยเบาหวาน อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมอย่างไรควรปรึกษาแพทย์ ที่เกี่ยวกับการรักษาโรคเบาหวานทางยาอีกด้วย
– ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป ก่อนที่จะเข้าคอร์สการออกกำลังกาย
คือ ไม่เกิน 250 mg ต่อเดซิลิตร สำหรับเบาหวานชนิดที่ 1 ( เบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินเนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้หรือผลิตได้น้อยมากต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย)
และ ไม่เกิน 300 mg ต่อเดซิลิตร สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 ( เบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลินเกิดจากสาเหตุที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลินคือร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่สามารถนำอินซูลินที่ผลิตไปใช้ได้)
– ผู้ป่วยเบาหวาน ก่อนออกกําลังกาย ควรเรียนรู้อาการวิธีป้องกัน และการแก้ไขภาวะน้ําตาลต่ํา เมื่อออกกำลังกาย
– ผู้ป่วยเบาหวานก่อน – หลังการออกกำลังกายทุกครั้ง ควรตรวจดูเท้าอยู่เสมอ
– การออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานควรใส่รองเท้าที่เหมาะสมไม่คับเกินไป หรือไม่หลวมเกินไปจนเกิดการเสียดสีให้เป็นแผล หรือเกิดอุบัติเหตุเมื่อออกกำลังกายได้ง่าย
– การออกกำลังกาย ของผู้ป่วยเบาหวาน ควรออกกำลังกายในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

เบาหวาน
เบาหวานกับการออกกำลังกาย

ข้อห้ามสำหรับการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานมีดังต่อไปนี้

– ห้ามผู้ป่วยเบาหวานที่ยังควบคุมน้ำตาลไม่ได้ออกกำลังกาย
– ห้ามผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตขณะพักสูงเกิน 200/100 มม.ปรอท
– ห้ามผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่ยังควบคุมไม่ได้ออกกำลังกาย
– ผู้ป่วยเบาหวานหากมีอาการเจ็บหน้าอกหรือโรคหัวใจขาดเลือด ที่ยังควบคุมไม่ได้ ไม่ควรออกกำลังกาย

ชนิดของการออกกำลังกายที่เหมาะสมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานสามารถออกกำลังกายได้ แต่ต้องเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากความถนัดโรคประจำตัวอายุเป็นต้น
– ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีปัญหาข้อเข่าข้อเท้าหรือปัญหาเรื่องเท้าควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก มากๆเช่น ไม่ออกกำลังกายโดยการวิ่ง การกระโดดเชือก แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ หรือทำกายบริหารท่านั่งหรือยืนได้
– ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นปลายประสาทอักเสบ ที่มีอาการชาที่เท้าไม่ควรที่จะวิ่งหรือกระโดดควรจะออกกำลังกายเพื่อเพิ่มระบบการไหลเวียนของโลหิตและกระตุ้นปลายประสาท แนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ออกกำลังกาย โดยการ ขี่จักรยานเป็นต้น
– ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการเบาหวานขึ้นตา ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงต้านมาก เล่นโยคะบางท่าหรือการยกน้ำหนักเป็นต้น
– ผู้ที่มีโรคหัวใจ แทรกซ้อน จากการเป็นโรคเบาหวาน ควรจะพบแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย ออกกำลังกาย เบาๆ และควรอยู่ในการควบคุมดูแล ของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ

เบาหวาน
เบาหวานกับการออกกำลังกาย

กิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

– ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ต่อเนื่องครั้งละ 20-40 นาที ควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง อย่างเหมาะสมซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน
– เพื่อให้ร่างกายได้มีการปรับตัว ผู้ป่วยเบาหวานควรเริ่มออกกำลังกายแบบเบาๆก่อนแล้วเพิ่มเป็นปานกลางไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนักหนักในรูปแบบที่ใช้แรงต้านมากๆ
– ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเน้นการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเช่นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคซึ่งไม่มีแรงกระแทก หรือผู้ป่วยเบาหวานอาจใช้การเดินการขี่จักรยานว่ายน้ำกายบริหาร ไทเก๊กหรือโยคะบางท่า

การสร้างภูมิคุ้มกันที่สมดุล

โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตัวรับอินซูลินที่ผิวเซลล์เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน อินซูลินเป็นสารที่ช่วยในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อสร้างเป็นพลังงาน ดังนั้นในผู้ที่เป็นเบาหวาน จึงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และอินซูลินไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ นอกจากนี้ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมากเป็นเวลานานๆ จะส่งผลให้เกิดการทำลายหลอดเลือด และระบบประสาทส่วนปลาย และถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา ภาวะแทรกซ้อนทางไตหรือแผลเรื้อรังจากเบาหวาน เป็นต้น

เบาหวาน
เบาหวานในเด็ก

ในผู้ป่วยเบาหวาน เม็ดเลือดขาวหลั่งสาร TNF-α, IFN-γ  และ IL-17 มากไปจนเกินความสมดุล โดย TNF-α และ IFN-γ จะเข้าไปทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนทำให้ สร้างอินซูลินได้น้อยลง (เบาหวานชนิดที่ 1)  และสารทั้งสองนี้ยังทำให้เกิดสภาวะดื้อต่ออินซูลินของเซลล์ (เบาหวานชนิดที่ 2) ส่วน IL-17 จะทำให้สภาวะการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นจึงทำให้เบาหวาน ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นด้วย

คณะนักวิจัย Operation BIM ได้วิจัย และพัฒนาสารเสริมประสิทธิภาพจากสารมังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก จนได้แคปซูลเสริมอาหารที่พิสูจน์โดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ แล้วว่าสามารถลดการหลั่งสาร TNF-α , IFN -γ  และ IL-17 ด้วยประสิทธิภาพสูง

โรคเบาหวานนับวันยิ่งมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้โรคเบาหวานกำลังเป็นภัยเงียบของคนไทยและทั่วโลก สหพันธ์เบาหวานนานาชาติรายงานล่าสุด พบทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 371 ล้านคน ส่วนของไทยพบคนไทยป่วยโรคเบาหวานกว่า 3.5 ล้านคน เสียชีวิตจากเบาหวานเฉลี่ยปีละเกือบ 8,000 ราย แนวโน้มพบในเด็กมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เด็กไทยเผชิญความอ้วนและกินหวานมากขึ้น หากไม่มีการป้องกันควบคุมโรคที่ดีพอ คาดว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า ไทยจะพบผู้ป่วยถึง 4.7 ล้านราย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bim100icon.com

ใส่ความเห็น