เบาหวาน
เบาหวานที่หลายๆ คนรู้จัก
เกิดจากสาเหตุอะไร?
และมีวิธีการดูแลแก้ปัญหาได้อย่างไร?
เบาหวาน กับการสร้างภูมิสมดุล
โรคเบาหวาน : ก่อให้เกิดไขมันในเลือดสูง
โรคเบาหวาน : สัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน : ทำให้มีโอกาสเกิดเส้นเลือดตีบตัน
เป็นต้น เบาหวานยังก่อให้เกิดได้อีกหลายๆ โรค
ระวัง! อาการเหล่านี้ อาจบ่งชี้ได้ว่าคุณป่วยเป็น “โรคเบาหวาน”
ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หรือดื่มน้ำบ่อยมากขึ้น หิวบ่อยอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวอาจจะลดฮวบฮาบ คันตามเนื้อตามตัว เป็นฝีบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรังหายยาก ตกขาวหรือมีอาการคันตามช่องคลอด รู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า เกิดแผลง่าย และอาจลุกลามจนเกิดการเน่า เป็นต้น อาการเหล่านี้ อาจบ่งบอกว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน
อย่างไรก็ตาม มีคนอีกจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานแต่ไม่รู้ตัวทำให้ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีหรือถูกปล่อยปละละเลย นั่นหมายความว่าผู้ป่วยเบาหวานได้ปล่อยให้โรคลุกลามจนอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานถึงขั้นรุนแรงได้
ทำไม! คนที่เป็นเบาหวานอาจถึงขั้นถูกตัดเท้าเมื่อเป็นแผล
เพราะผนังหลอดเลือดแดงที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานจะตีบ และแข็ง เลือดจึงไปเลี้ยงที่เท้าได้ไม่เพียงพออาจทำให้เกิดเท้าเย็นเป็นตะคริว หรือปวดขณะเดินมากๆ อาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นแผลที่หายได้ยากหากมีการติดเชื้อร่วมด้วยเท้าก็จะเน่าจนต้องถูกตัดทิ้ง การทำความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน และการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกต้องจะสามารถช่วยเหลือได้แต่เนินๆ
ทำไม! ผู้ป่วยเบาหวานจึงผอมได้อย่างรวดเร็ว
ในกรณีเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้จะสร้างอินซูลินไม่ได้เลย หรือได้น้อยมากร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อต้านตับอ่อนของตัวเองจนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ที่เรียกว่า “โรคแพ้ภูมิตัวเอง” (autoimmune) ผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นต้องพึ่งการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนในร่างกายทุกวัน จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติมิเช่นนั้นร่างกายจะเผาผลาญไขมันแทนจนทำให้ร่างกายผ่ายผอมอย่างรวดเร็วนั่นเอง หากเป็นถึงขั้นรุนแรงจะมีการคั่งของสารคีโตน (ketones) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันของร่างกายผู้ป่วยเบาหวานนั่นเอง สารนี้เป็นสารพิษต่อระบบประสาททำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการรุนแรงหมดสติ และเสียชีวิตได้เรียกว่า”ภาวะคั่งสารคีโตน” (ketosis)
สาเหตุ! สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน
– เบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยพ่อแม่ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้
– การรับประทานอาหาร โดยที่ไม่ควบคุมน้ำหนักหรือกินหวานมากเกินไปจนอ้วน ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
– การไม่ออกกำลังกายก็มีส่วนสำคัญต่อการเกิดเบาหวานด้วยค่ะ
– การมีลูกดก หรือเกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่นยาเม็ดคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ การใช้ Steroid ก็มีผลกระทบต่อการเกิดโรคเบาหวาน
– โรคเบาหวานอาจพบร่วมกับโรคอื่นๆได้ เช่นโรคมะเร็งตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งระยะสุดท้ายเป็นต้น
โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus)
โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากอะไร?
โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติที่เกิดจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนผลิตอินซูลิน ไม่เพียงพอ หรือไม่ผลิตเลย ตัวรับอินซูลินที่ผิวเซลล์ของผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะการดื้อต่ออินซูลินซึ่งอินซูลินเป็นสารที่ช่วยในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของร่างกายเพื่อสร้างเป็นพลังงานดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ในขณะเดียวกันอินซูลินก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเป็นระยะเวลานานๆ จะส่งผลให้เกิดการทำลายหลอดเลือด และระบบประสาทส่วนปลาย และถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้เช่นความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ภาวะแทรกซ้อนทางตา ภาวะแทรกซ้อนทางไต หรือแผลเรื้อรังจากโรคเบาหวาน เป็นต้น
ตับอ่อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานสร้าง “ฮอร์โมนอินซูลิน” (Insulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย
ตับอ่อน – คืออวัยวะหนึ่งของร่างกายที่หลั่งสารอินซูลิน
อินซูลิน – คือสารที่ช่วยนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่คอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงานเมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอน้ำตาลก็จะไม่ถูกนำไปใช้ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในกระแสเลือดเมื่อคั่งอยู่มากๆ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานก็จะส่งน้ำตาลไปที่ไตให้ทำหน้าที่ในการกรองออกมาในระบบปัสสาวะทำให้ปัสสาวะหวาน เราจึงเรียกว่า “เบาหวาน” นั่นเอง
ภาวะแทรกซ้อน! ของผู้ป่วยเบาหวาน
ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน มักเกิดเมื่อเป็นเบาหวานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ หรือไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่
– ติดเชื้อง่าย : เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยเบาหวาน มีภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อวัณโรคปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ เป็นฝีพุพองเป็นแผลแล้วหายยากเป็นต้น
– ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง : ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็งเลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พออาจทำให้เท้าเย็นหรือเป็นตะคริว ปวดขณะเดินมากๆทำให้เป็นแผล และหายยาก หรือเท้าเน่า กรณีที่หากเกิดการติดเชื้อร่วมด้วยอาจทําให้ถูกตัดขาได้
– ระบบประสาท : ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการปลายประสาทอักเสบ ชาปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า มีอาการวิงเวียนเนื่องจากภาวะความดันตก บางรายไม่มีความรู้สึกทางเพศ ท้องเดิน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่มีแรงปัสสาวะเป็นต้น
– ไต : ไต ของผู้ป่วยเบาหวานมักจะเสื่อมจนเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวมซีด ความดันสูง
– ตา : ตาของผู้ป่วยเบาหวานอาจเป็นต้อกระจกประสาทตา หรือจอตาเสื่อม วุ้นตาเสื่อม หรือเลือดออกวุ้นในตามีอาการตามัวมองเห็นจุดดำๆ ลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
– ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียนกระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง (ตาโบ๋ หน้าเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาและเร็ว) ปวดท้องท้องเดิน ซึ่งหรือถ้าอาการรุนแรงมากอาจทำให้หมดสติ ภาวะนี้จะพบเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ
เบาหวาน และการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
– ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การป้องกันโรคเบาหวานได้ด้วยการรู้จักกินอาหาร ลดของหวาน แป้ง และน้ำตาล ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ร่าเริง ไม่เครียดหรือวิตกกังวล
– ผู้ป่วยเบาหวานควรงดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น เป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนต่างๆของผู้ป่วยเบาหวานได้
– ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผล หรืออักเสบ เพราะอาจจะลุกลามจนเกิดเป็นแผลเน่าจนต้องถูกตัดขาทิ้งได้
– ผู้ป่วยที่รักษาเบาหวาน บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากมีอาการใจหวิวหวิว ใจสั่นหน้ามืด ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็นจนถึงขั้นอาจเป็นลมหมดสติได้ จึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และควรพกน้ำหวานหรือลูกอมจะช่วยทำให้หายได้
– ผู้ป่วยเบาหวานควรตรวจร่างกายตามกำหนดปีละอย่างน้อย 1 ครั้งหมั่นตรวจปัสสาวะด้วยตนเองและสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
หากผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง จะสามารถดูแล และป้องกันปัญหาสุขภาพได้ในคราวเดียวกัน นะคะ
ผลงานวิจัย Operation BIM กับผู้ป่วยเบาหวาน ศึกษาพบว่า?
ในผู้ป่วยเบาหวาน เม็ดเลือดขาวหลั่งสาร TNF-α, IFN-γ และ IL-17 มากไปจนเกินความสมดุล
โดย TNF-α และ IFN-γ
จะเข้าไปทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนทำให้ สร้างอินซูลินได้น้อยลง (เบาหวานชนิดที่ 1)
และสารทั้งสองนี้ยังทำให้เกิดสภาวะดื้อต่ออินซูลินของเซลล์ (เบาหวานชนิดที่ 2) ส่วน IL-17 จะทำให้สภาวะการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นจึงทำให้เบาหวาน เป็นอาการหนึ่งของการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นด้วย
คณะนักวิจัย Operation BIM ได้วิจัยเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
คณะนักวิจัย Operation BIM ได้วิจัย และพัฒนาสารเสริมประสิทธิภาพจากสารมังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก ในผู้ป่วยเบาหวาน เม็ดเลือดขาวหลั่งสาร TNF-α, INF-ϒ และ IL-17 มากไปจนเกินความสมดุลโดย TNF-α และ INF-ϒ จะเข้าไปทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนทำให้สร้างอินซูลินได้น้อยลง(เบาหวานชนิดที่ 1) และสารทั้งสองนี้ยังทำให้เกิดสภาวะดื้อต่ออินซูลินของเซลล์(เบาหวานชนิดที่ 2) ส่วน IL-17 จำทำให้สภาวะการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นจึงทำให้เบาหวาน ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของการแพ้ภูมตัวเองรุนแรงขึ้นด้วย
“การสร้างภูมิคุ้มกันที่สมดุล เป็นมิติใหม่ของการดูแลสุขภาพ”
*ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
เบาหวาน
เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ, ส่งผลกระทบในระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไป จากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม(ระดับน้ำตาลที่>126 มก./ดล.HbA1cน้อยกว่า 6.5), ปกติน้ำตาลจะเข้าสู่้ซลล์ร่างกายเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมฮอร์โมนอินซูลิน, ผู้ที่เป็นเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้เหมือนคนปกติ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น, เบาหวาน ในระยะยาวอาจมีผลในการทำลายหลอดเลือด, เบาหวาน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้, ร่างกายก็เหมือนระบบปั้มน้ำ(และน้ำก็คือเลือด)ปั้มน้ำจะทำงานอย่างปกติ แต่หากมีการทำให้น้ำในระบบเกิดการข้นขึ้น ซึ่งก็คือโรคเบาหวานหรือการเติมน้ำตาลลงไปในเลือด จะทำให้เลือดในระบบมีความหนืดขึ้น, ปั้มหรือหัวใจของผู้ป่วยเบาหวาน ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น, ท่อน้ำหรือหลอดเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน จะต้องรับแรงดันที่มากขึ้น จึงทำให้คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน กับอวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้นได้
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bim100icon.com