เบาหวาน กับการตั้งครรภ์
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตั้งครรภ์ได้หรือไม่?
ผู้ป่วย โรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์
ผู้หญิงหากต้องการมีบุตร แต่ป่วยเป็น โรคเบาหวาน อยู่ ก่อนตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เป็น เบาหวาน ช่วงวัยเจริญพันธุ์ควรได้รับการติดตามรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมให้อยู่ในเกณฑ์ และปรึกษาแพทย์เรื่องการวางแผนครอบครัวและการเตรียมตัวก่อนที่จะตั้งครรภ์
และควรปฏิบัติ ดังนี้
– รักษาระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ให้ได้เท่ากับ 6.5 หรือน้อยกว่า และคุมน้ำตาลให้ปกติ เพื่อลดโอกาส การพิการของเด็กในครรภ์
– ตรวจร่างกาย และรักษา ให้ดีก่อนที่จะตั้งครรภ์
– ระวังยาในกลุ่ม ลดความดัน และลดไขมัน ซึ่ง เป็นยาที่ควรระวัง และห้ามรับประทานตอนตั้งครรภ์
โรคเบาหวาน กับปัจจัยเสี่ยงของผู้หญิงตั้งครรภ์
ผู้หญิงไทยในวัยเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวาน มากขึ้น และผู้หญิงจำนวนหนึ่งพบว่าเป็น โรคเบาหวาน เมื่อตั้งครรภ์ บางคนหลังคลอด โรคเบาหวาน หายไปแต่หลายคน บางคนหลังคลอดน้ำตาลยังคงสูงต่อเนื่อง
แบ่งได้ 2 กลุ่ม
1. โรคเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์(Gestational diabetes) ผู้หญิงกลุ่มนี้ โรคเบาหวาน จะหายไปหลังคลอดแล้ว หลังจากคลอดแต่น้ำตาลในเลือดยังคงสูงต่อเนื่อง จนกลายเป็น โรคเบาหวาน และเป็น เบาหวาน ก่อนตั้งครรภ์ในท้องต่อไป
2. โรคเบาหวาน ก่อนตั้งครรภ์ (pre-gestational diabetes)
โรคเบาหวาน กับความเสี่ยงของลูก
แม่ที่เป็น โรคเบาหวาน จะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ดังนี้
1. ปัญหาน้ำหนักของทารกแรกคลอด
1.1 ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวมากกว่าทารกทั่วไป
ทารกที่คลอดครบกำหนดแต่น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4,000 กรัม กรณีคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักจะมากกว่าเกณฑ์ของอายุครรภ์มีผลทำให้ การคลอดโดยธรรมชาติทำได้ยาก มีความเสี่ยงต่อการคลอด เช่น ไหล่ติด มีกระดูกไหปลาร้าหัก ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทบริเวณคอและไหล่ ภาวะเม็ดเลือดแดงข้นกว่าปกติระบบหายใจ และหัวใจผิดปกติ กรณีนี้ แพทย์ จะต้องผ่าคลอดฉุกเฉินทางหน้าท้อง
1.2 ทารกแรกคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่าทารกทั่วไป
ทารกที่คลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติหรือน้อยกว่า 2,500 กรัม ทารกกลุ่มนี้จะพบในแม่ เบาหวาน ที่มีความผิดปกติของการทำงาน ของหลอดเลือด และไต
2. ปัญหาระบบการหายใจผิดปกติ ของทารกแรกคลอด
– ภาวะขาดออกซิเจนระหว่างคลอด ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก มักพบในทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุของครรภ์
– ภาวะความดันสูงในหลอดลมปอดอักเสบ และภาวะหายใจเร็ว หลังคลอด มักพบในทารกที่มีน้ำหนักตัว มากกว่าอายุครรภ์
3. ปัญหาทารก อวัยวะพิการแต่กำเนิด
การพัฒนาระบบประสาท ระบบสมองส่วนกลางผิดปกติ เนื้อสมองแหว่งจนถึงไม่มีสมองส่วนหน้า กระดูกหลังผิดปกติเส้นประสาทส่วนปลาย ปากแหว่งเพดานโหว่ ห้องและลิ้นหัวใจผิดปกติ ใบหูผิดปกติ ไตทำงานผิดปกติ หรือขนาดของไตเล็กกว่าปกติเป็นต้น
4. ปัญหาเกิดการแท้ง และทารกเสียชีวิต ตั้งแต่ในครรภ์หรือหลังคลอด
5. ความเสี่ยงความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษคลอดก่อนกำหนด เกิดขึ้นได้ทั้งใกล้คลอดและขณะคลอด
6. ปัญหา ภาวะเมตาบอลิซึม และความผิดปกติ ของสารเกลือแร่ และน้ำตาล
6.1 ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจพบได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ของทารกแรกคลอดที่แม่เป็นเบาหวาน และอาจต่อเนื่องได้เป็นสัปดาห์ ควรรีบแก้ไข เพราะอาจทำให้ทารกอาจมีอาการชักเกร็งและหัวใจหยุดเต้นได้
6.2 ภาวะเกลือแร่ในเลือดต่ำ ได้แก่ สารแมกนีเซียมแคลเซียม ในเลือดต่ำ ทารกอาจมีอาการเกร็งและชักได้ หรือภาวะขาดธาตุเหล็กซึ่งความผิดปกติเหล่านี้อาจส่งผลต่อการพัฒนาระบบประสาทและสมอง
เบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ลูกมีโอกาสได้รับผลกระทบ มีความผิดปกติของอวัยวะ และภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง แต่ทั้งหมดนี้สามารถป้องกันได้ โดยการวางแผน เตรียมความพร้อม ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
โรคเบาหวาน กับการปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรคเบาหวาน ควบคุมได้ด้วยการปรับสมดุลของร่างกาย
ผลงานวิจัย Operation BIM กับผู้ป่วยเบาหวาน ศึกษาพบว่า?
ในผู้ป่วยเบาหวาน เม็ดเลือดขาวหลั่งสาร TNF-α, IFN-γ และ IL-17 มากไปจนเกินความสมดุล
โดย TNF-α และ IFN-γ
จะเข้าไปทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนทำให้ สร้างอินซูลินได้น้อยลง (เบาหวานชนิดที่ 1)
และสารทั้งสองนี้ยังทำให้เกิดสภาวะดื้อต่ออินซูลินของเซลล์ (เบาหวานชนิดที่ 2) ส่วน IL-17 จะทำให้สภาวะการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นจึงทำให้เบาหวาน เป็นอาการหนึ่งของการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นด้วย
คณะนักวิจัย Operation bim จากศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทยได้ริเริ่มแนวทางใหม่ ด้วยการใช้อาหารสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุลเพื่อป้องกันโรคภัย ด้วยการนำสาร GM-1อันทรงคุณค่า เสริมฤทธิ์ด้วยสารสกัดจากธัญพืช และผลไม้ มังคุด ถั่วเหลือง งาดำ ฝรั่ง และใบบัวบก
จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องพบว่า สูตรอาหารนี้มีประสิทธิภาพสูงในการปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุลจึงได้ตั้งชื่อสูตรอาหารนี้ว่า “BIM ซึ่งย่อมาจาก Balancing Immunity (ภูมิคุ้มกันที่สมดุล)” นำเสนอผลงานวิจัยนี้ ในที่ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ
ผลจากการทดสอบผลงานวิจัย operation bim ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้สามารถอธิบายประสิทธิภาพของผลงานวิจัย operation bim ในการสร้างสมดุลของภูมิคุ้มกันตามหลักภูมิคุ้มกันวิทยาล่าสุด
BIM ย่อมาจาก Balancing Immunity คือการดูแลภูมิคุ้มกันของเราให้อยู่ในสภาพที่สมดุลไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไปให้พอเหมาะพอดีนั้นเอง
“การสร้างภูมิสมดุลเป็นมิติใหม่ของการดูแลสุขภาพ”
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bim100icon.com
Pingback: เบาหวาน รู้ทัน และรู้จัก โรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง