เบาหวาน กับไตเรื้อรัง
เบาหวาน คือการที่ร่างกายเริ่มมีระดับน้ำตาล สูงกว่า 110mg/dl และเพิ่มจำนวนขึ้นจนเกิน เพราะการกินและไม่มีการออกกำลังกาย จนมีน้ำหนักตัวเกิน เมื่อไม่ได้ควบคุมการกิน กินตามใจชอบกินจุกกินจิก กินแป้งและน้ำตาล มากเป็นประจำ จนร่างกายเผาผลาญน้ำตาลไหม้หมด ร่างกายจะเริ่มสะสมน้ำตาล และเปลี่ยนน้ำตาลสะสม เป็นไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ ไว้ใต้ผิวหนัง ต้นขา ต้นแขน หน้าท้องฯลฯ ทำให้ดูอ้วน น้ำหนักตัวเพิ่มจนเกินมาตรฐาน ความอ้วนเป็นตัวการในการทำลายตับอ่อน ให้เสื่อมลงจนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ที่มีหน้าที่นำน้ำตาลเข้าไปเผาผลาญเป็นพลังงานในร่างกายได้หรือได้ไม่หมดนั่นเอง
เบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้แก่
– ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
– แผลเบาหวานจนต้องตัดอวัยวะหรือตัดเท้าออก จากการที่หลอดเลือดปลายมือปลายเท้าตีบ
– ทำลายตา
– ทำลายสมองและปลายประสาท
– ทำลายไต
เบาหวานกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังหรือไตวาย
– การสูบบุหรี่
– การมีระดับไขมันในเลือดสูง
– การไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
– การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี
เบาหวานกับไตเรื้อรังสามารถป้องกันได้
– ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเป้าหมายคือในช่วง 70-110 mg/dl
– กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
– ควบคุมการกินอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง และไม่กินจุบจิบ
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีอันตรายต่อไต เช่นยาแก้ปวดลดการอักเสบ
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
– ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์
– รับประทานอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ อาหารนึ่งต้ม
– หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด ขนมเค้ก ขนมหวาน แกงกะทิเป็นต้น
ไตเรื้อรัง หรือไตวาย
ไต มีหน้าที่กรองของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน ออกจากร่างกาย /ควบคุมความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ / ไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความดันเลือด และไปยังมีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนบางชนิด โดยเฉพาะฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ ที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นสร้างเม็ดเลือดแดง
หน้าที่ของไตจึงสำคัญมาก ธรรมชาติจึงสร้างให้มนุษย์มีไตอยู่สองข้างหากข้างใดข้างหนึ่งเสียไปร่างกายก็จะยังคงมีไตอีกข้างให้ทำหน้าที่สำคัญเหล่านี้ต่อไป
ไต ป่วยได้อย่างไร
– ไต ป่วยจากการติดเชื้อ จากสารเคมีที่เรากินเข้าไป รวมถึงยาที่เรารับประทานเข้าไปจนทำให้ไตเกิดภาวะเสื่อมจนแพ้ภูมิตัวเอง
– สารพิษที่เป็นอันตรายต่อไต เช่นสารปรอท ที่อยู่ในปลาทะเล ปลาน้ำจืด ในสัตว์น้ำ ซึ่งสารปรอท จะปะปนอยู่ในน้ำ และเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อาหาร และสารปรอทก็ยังมาจากการอุตสาหกรรมทำฟัน เช่นการอุดฟัน
– ไตวายเกิดจากกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
การอั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ ก็เป็นการทำร้ายไตการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ เป็นสาเหตุสำคัญของการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และกรวยไต ร่างกายจะดูดของเหลวในกระเพาะปัสสาวะกลับคืนเข้าสู่ระบบต่างๆของร่างกาย แต่จะคงเหลือสารพิษมากขึ้นจากความเข้มข้น ของสารพิษ ก็จะสูงขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบการติดเชื้อแล้วลามไปที่ไต กรวยไตหรือหมวกไต
– อาหารเค็ม อาหารรสจัด ผงชูรส และอาหารที่ผ่านกรรมวิธีแปรรูปต่างๆ ก็เป็นเหตุทำให้ไตป่วย
– ไตวายจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปลายประสาทตีบตัน จากการป่วยเป็นโรคเรื้อรังเช่นโรค เบาหวาน SLE เป็นต้น
ไต เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย หากไตไม่ทำหน้าที่นี้ ก็แปลว่า ไตนั้น ได้สะสมของเสียไว้ในร่างกาย เมื่อของเสียไม่ได้ถูกขับออก และสะสมไว้ในปริมาณที่มากขึ้นก็จะไปทำให้เกิดการแปรปรวนในอวัยวะต่างๆ เกิดการสะสมของเสียในเลือด เห็นได้จากผิวที่ดำคล้ำของผู้ป่วยโรคไต เกิดการทำงานของระบบประสาทแปรปรวน เกิดการบวมจากการที่ไตไม่สามารถผลิตฮอร์โมนบางชนิด ที่มีหน้าที่ปรับแรงดันปรับโซเดียม ออกจากร่างกาย เมื่อปรับไม่ได้ร่างกายก็จะดึงน้ำเข้ามาในร่างกายแทนที่จะขับออกไปจึงเกิดการบวมน้ำในร่างกายเกิดขึ้น
ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตรอเปลี่ยนไตประมาณ 40,000 ราย แต่ในขณะเดียวกันแพทย์จะสามารถเปลี่ยนไตให้ผู้ป่วยได้ 400 คนต่อปี และในผู้ป่วยที่เปลี่ยนไตแล้ว ยังจะต้องกินยาคุมไม่ให้เกิดการแพ้ภูมิตัวเอง คือการที่ร่างกายเกิดการต่อต้านไตใหม่ นั้นคือยาในกลุ่มกดภูมิคุ้มกัน ข้อเสียเมื่อรับประทานยากดภูมิ จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ อาทิเช่นโรคติดเชื้อ และโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันต่ำได้ง่าย ซึ่งก็จะไม่สามารถใช้วิธีการนี้ไปได้ถาวรนานๆ เข้าก็จะกลับไปป่วยเป็นโรคไตได้อีก ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นเพียงวิธีการยืดระยะเวลาหาใช่เป็นการรักษาโรคไตที่ต้นเหตุ
การแพทย์ทางเสริมจึงเป็นโอกาสที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคไต สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ผลงานวิจัย Operation BIM กับผู้ป่วยเบาหวาน ศึกษาพบว่า?
ในผู้ป่วยเบาหวาน เม็ดเลือดขาวหลั่งสาร TNF-α, IFN-γ และ IL-17 มากไปจนเกินความสมดุล
โดย TNF-α และ IFN-γ
จะเข้าไปทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนทำให้ สร้างอินซูลินได้น้อยลง (เบาหวานชนิดที่ 1)
และสารทั้งสองนี้ยังทำให้เกิดสภาวะดื้อต่ออินซูลินของเซลล์ (เบาหวานชนิดที่ 2) ส่วน IL-17 จะทำให้สภาวะการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นจึงทำให้เบาหวาน เป็นอาการหนึ่งของการแพ้ภูมิตัวเองรุนแรงขึ้นด้วย
คณะนักวิจัย Operation bim จากศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทยได้ริเริ่มแนวทางใหม่ ด้วยการใช้อาหารสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุลเพื่อป้องกันโรคภัย ด้วยการนำสาร GM-1อันทรงคุณค่า เสริมฤทธิ์ด้วยสารสกัดจากธัญพืช และผลไม้ มังคุด ถั่วเหลือง งาดำ ฝรั่ง และใบบัวบก
จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องพบว่า สูตรอาหารนี้มีประสิทธิภาพสูงในการปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุลจึงได้ตั้งชื่อสูตรอาหารนี้ว่า “BIM ซึ่งย่อมาจาก Balancing Immunity (ภูมิคุ้มกันที่สมดุล)” นำเสนอผลงานวิจัยนี้ ในที่ประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ
ผลจากการทดสอบผลงานวิจัย operation bim ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้สามารถอธิบายประสิทธิภาพของผลงานวิจัย operation bim ในการสร้างสมดุลของภูมิคุ้มกันตามหลักภูมิคุ้มกันวิทยาล่าสุด
การฟื้นฟู การซ่อมแซม รวมถึงการดูแลไตที่ดีอยู่แล้วให้ดีต่อไปเรื่อยๆ ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันที่สมดุลให้กับร่างกาย จึงเป็นหนทางหนึ่ง ที่เป็นทางเลือกและสร้างโอกาสให้ผู้ป่วยโรคไตได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เบาหวาน สัมพันธ์กับภาวะโรคไตเรื้อรัง อย่างแยกกันไม่ได้จึงควรระมัดระวังการกินอาหาร และการออกกำลังกาย อันเป็นสาเหตุหลักของการเป็น เบาหวาน เรื้อรังจนเกิดโรคไตได้นั้นเอง
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.bim100channels.com/
https://www.youtube.com/bim100product